ผู้ต้องสงสัย ของ เท็ตสึยะ ยามางามิ

เท็ตสึยะ ยามางามิ
山上徹也
เกิด10 กันยายน ค.ศ. 1980 (41 ปี)[77]
จังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น
สถานะการจับกุม
ถูกจับกุมแล้ว
วิชาชีพทางทหาร
บริการ/สังกัดกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
ประจำการค.ศ. 2002–2005
ชั้นยศจ่าเอก

เท็ตสึยะ ยามางามิ (ญี่ปุ่น: 山上徹也; โรมาจิ: Tetsuya Yamagami) ชายวัย 41 ปีที่อาศัยอยู่ในเมืองนาระถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดนาระ ณ ที่เกิดเหตุ บนฐานของเหตุอันควรสงสัยว่าพยายามฆ่าผู้อื่น ทั้งนี้หลังมีการประกาศการเสียชีวิตของอาเบะ ข้อกล่าวหาถูกปรับเป็นการฆาตกรรม ยามางามิถูกจับกุมและนำตัวส่งสถานีตำรวจนาระนิชิ[78] ตามคำบอกเล่า เขาอยู่ในอาการสงบและไม่ได้มีท่าทีที่จะหลบหนี[79][80][81] ยามางามิไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน[82] จวบจนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการต่อยามางามิที่กำลังถูกควบคุมตัวที่สำนักงานอัยการระหว่างการสอบสวน[75]

ชีวิตส่วนตัว

เท็ตสึยะ ยามางามิ เกิดในจังหวัดมิเอะ[83] ยามางามิเติบโตในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและเปิดกิจการการก่อสร้าง[84] ตามคำบอกเล่า เขาเป็นคนเงียบและเก็บตัวในโรงเรียนมัธยมปลาย[85][86][87] เขาเขียนในหนังสือรุ่นว่าเขา "คิดไม่ออกเลย" ว่าเขาอยากทำอะไรในอนาคต[88][89] แม้ว่ายามางามิจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมปลายที่มีชื่อเสียง เขาไม่สามารถศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้เนื่องจากปัญหาทางการเงินของครอบครัวเขา ขณะที่ยามางามิยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นตาของเขาเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ทำให้แม่ของเขาต้องเข้าดูแลกิจการก่อสร้าง[90]

ยามางามิเข้าร่วมกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น (JMSDF) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 เขาถูกส่งให้ไปประจำที่ฐานทัพเรือคูเระและได้รับการมอบหมายตำแหน่งในเรือพิฆาตชื่อ เจเอส มัตสึยูกิ[91][88][92] ยามางามิถูกปลดจากตำแหน่งในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ด้วยตำแหน่งทหารพลาธิการ[91] พร้อมกับยศจ่าเอก[85]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ยามางามิเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้ควบคุมรถยกในจังหวัดเกียวโตให้แก่บริษัทผู้ผลิตที่ดำเนินกิจการในภูมิภาคคันไซ[93] ตามคำบอกเล่าของผู้คนที่นั่น เขาเป็นคนเงียบครึม และกล่าวว่ายามางามิออกจากงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 หลังเขาอ้างว่าเขา "รู้สึกไม่ค่อยดี"[94][88][95] ยามางามิเป็นผู้ว่างงานในเวลาที่เขาถูกจับกุม[94][84]

เหตุจูงใจ

ยามางามิบอกตำรวจสืบสวนว่าแรงจูงใจของเขาเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องทางการเมือง[96][97][98][99] หลังจากเข้าร่วมโบสถ์แห่งความสามัคคีในช่วง พ.ศ. 2534 ถึง 2541[lower-alpha 5][100] แม่ของเขาได้มอบเงินราว 100 ล้านเยน, แปลงที่ดินซึ่งตกทอดมาจากพ่อของเธอ และบ้านที่เธออยู่ร่วมกับลูกสามคน ภายหลังแม่ของยามางามิได้รับการประกาศให้ล้มละลายใน พ.ศ. 2545[101]

ยามางามิกล่าวอ้างว่าเขาเคยพยายามกระทำอัตวินิบาตกรรมใน พ.ศ. 2548 ด้วยความหวังที่จะมอบสิทธิประโยชน์ของประกันชีวิตให้แก่พี่น้องของเขา[100] พี่ชายคนโตของยามางามิที่กำลังต่อสู้กับมะเร็งอย่างยาวนานไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ เขาเสียชีวิตจากอัตวินิบาตกรรมใน พ.ศ. 2558[102] อ้างถึงลุงของเขา เหตุการณ์ดังกล่างส่งผลให้ยามางามิซึมเศร้า[100][103]

ยามางามิต่อว่าโบสถ์ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินของครอบครัวเขาและเก็บความคับข้องใจที่มีต่อโบสถ์[104][105] หลังเขาค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างโบสถ์และอาเบะช่วงหลายเดือนก่อนการโจมตี เขาเชื่อว่าอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เผยแพร่อิทธิพลของโบสถ์ในประเทศญี่ปุ่น[106]

คำตอบจากโบสถ์แห่งความสามัคคี

ในวันที่ 11 กรกฎาคม ความเกี่ยวข้องของแม่ของยามางามิกับโบสถ์แห่งความสามัคคีได้รับการยืนยันโดย โทโมฮิโระ ทานากะ ประธานโบสถ์สาขาโตเกียวภายในงานแถลงข่าว[107][108] ทานากะกล่าวว่าแม่ของยามางามิเข้าร่วมโบสถ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2541 หยุดเข้าร่วมในช่วง พ.ศ. 2552 และกลับมาสร้างความสัมพันธ์กับโบสถ์ใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2562 หรือ พ.ศ. 2563[109] เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยจำนวนทรัพย์สินที่บริจาคโดยแม่ของยามางามิตั้งแต่การเข้าร่วมของเธอใน พ.ศ. 2541 โดยอ้างว่าขาดบันทึกการบริจาคของเธอ[107][110] ทานากะยังไม่ได้กล่าวแสดงความสำคัญถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างองค์กรและอาเบะตามที่ถูกกล่าวหา โดยกล่าวว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นสมาชิกจดทะเบียนหรือที่ปรึกษาของโบสถ์ หากแต่กล่าวสุนทรพจน์แก่ "องค์กรที่เป็นมิตร" ของพวกเขา ซึ่งก็คือโบสถ์แห่งความสามัคคีเพียงเท่านั้น[111][112][113]

ในวันที่ 14 กรกฎาคม โบสถ์ได้เผยแพร่แถลงการณ์อ้างว่าก่อนการลอบสังหาร พวกเขาได้ตกลงร่วมกันว่าจะคืนเงินจำนวน 50 ล้านเยนที่ได้รับบริจาคโดยแม่ของยามางามิในช่วง พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2558 และไม่มีบันทึกการบริจาคครั้งใหม่เพิ่มเติมโดยเธอหลังจากการคืนเงิน[114]